วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

หนังสือ "กาพย์พระมาลัย"






     พระธรรมที่สวดนั้น  เป็นธรรมชั้นสูงสอนให้ผู้ฟัง เกิดความสังเวชสลดจิต ตรึกถึงสภาวธรรม อันเป็นชีวิตของตนเทียบกันซากศพ  อันมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกระยะ ทุกขณะ

     เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องของสังขาร อันสังขารนั้นตกอยู่ในสามัญลักษณะ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  เป็นที่รวมของกองทุกข์ด้วย  สร้างความทุกข์ขึ้นอีกด้วยถ้าบุคคลหลงอยู่ในกามสุข

    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาเห็นสภาวะอันเป็นจริง  ถ้าไม่หาทางเพื่อพ้นทุกข์  ก็ต้องจมอยู่ในกองทุกข์อย่างนั้น เวียนว่ายตายเกิดไม่มีสุดสิ้น จงตรึกดูว่าความทุกข์น้ันเป็นอย่างไร มันมีประจำชีวิตร่างกาย  หลบไม่ได้ หลีกไม่พ้น

     พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทุกข์เป็นปริญเญยยธรรม  คือเป็นธรรมที่ควรกำหนดรุ้เท่านั้น 

     ทรงสอนว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะเหตุ  ไม่มีเหตุไม่มีอะไรเกิด  ทุกข์จะเกิดเพราะความปรารถนาในกามสุข  คือสุขเกิดแต่ความปรารถนาความใคร่  ความไม่ชอบใจ  คือ ปรารถนาอยากได้ ปรารถนาอยากมี อยากเป็น  ทั้ง ๓ ประการนี้นำทุกข์มาสุมไว้ที่บุคคล 

     ภาพพระโมคคัลลานะหรือพระมาลัยกำลังสนทนาธรรมกับเทพบุตร เทพธิดา  ณ. ดาวดึงส์พิภพ

    เทวดา มาร พรหม ยมยักษ์ ครุฑ นาค คนธรรพ์ วิทยาธร ราชฤาษี ฤาษี ชีไพร เมื่อเข้าถึงพระธรรมแล้ว แม้จิตนั้นจะขึ้งเคียดด้วยอุปกิเลส ทำการโหดเหี้ยมนานาประการ  กลับเป็นผู้มีจิตสะอาด สงบเสงี่ยมลงได้ เพราะถูกธรรมกำจัดลบล้างเสียแล้ว  ความเป็นผู้มีอัธยาศัยงามเงี่ยโสตลงฟังพระธรรมที่พระสงฆ์สวดประกาศอยู่

     ผู้สงบฟังพระธรรมอย่างนี้  ดูทุกส่วนของร่างกายสงบเสงี่ยม  การนุ่งห่มก็สะอาดเรียบร้อย กายทวาร วจีทวารสงบ

     จงพิจารณาดูเถิดว่า  ผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี  เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรม กายสงบเพียงใด การพนนมมือฟังธรรมนั้น ประทับอยู่ที่ตรงอก  หรือตรงหัวใจ  แสดงให้เห็นว่า ผู้นิยมปฎิบัติธรรมนั้น เป็นผู้เรียบร้อยสงบ  เป็นผู้ดีเต็มร้อยเปอร์เซนต์ทีเดียว

     การดับทุกข์ไม่มีใครค้นพบ  มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่าน้ันที่ทรงค้นพบว่า  ต้องปฎิบัตดี ปฎิบัติชอบ ในธรรมให้สมควรแก่ธรรม

     ในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นั้น ตรัสสอนให้รู้ทางดับทุกข์ว่า  กุสฺลา ธมฺมา อกุสฺลา ธมฺมา อพฺยากตา  ธมฺมา     ธรรมเป็นกุศล ธรรมเป็นอกุศล  ธรรมเป็นอัพยากฤต

      ธรรมที่เป็นกุศลดับทุกข์  ธรรมที่เป็นอกุศลก่อทุกข์  ธรรมที่เป็นอัพยากฤตไม่พยากรณ์ว่าเป็นกุศลและอกุศล 

    เหมือนร่างกายของบุคคล  ถ้าอยู่เฉยๆ ก็เป็นอัพยากฤต  ถ้ากายนั้นทำดีก็เป็นกุศล  กายนั้นทำชั่วก็เป็นอกุศล นี้เป็นข้ออุปมา 

     ธรรมที่เป็นกุศลนั้นอย่างไร  สมัยใดจิตที่เป็นกุศล  ประกอบด้วยยโสมนัส  สัมปยุตด้วยปัญญาเกิดขึ้่นโดยปรารภรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ หรือ จิตที่ปรารภอารมณ์ใดๆ ไม่กำเริบด้วยโลกธรรม นั้นเรียกว่า ธรรมในที่นี้

                                                                              
                      สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น  ปุณฺณสิริ)
                                         
                                          วัดพระเชตุพนฯ 

    

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

หนังสือ "กายพ์พระมาลัย"




หนังสือ "กาพย์พระมาลัย"



นโม ตสฺส ภควโต อรหตฺโต  ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

สมฺมาสมฺพุทฺฺธสส กุสลา ธมฺมา ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง  สภาวธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต
                                                มีลักษณะไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุข


อกุสฺลา ธมฺมา                       สภาวธรรมท้้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่่ชีวิต ซึ่งมีลักษณะมีโทษ ให้ผลเป็น
                                             ความทุกข์

อพฺยากตา ธมฺมา                   สภาวธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต ซึ่งพระองค์ไม่ทรงแสดงโดย
                                              ความเป็นกุศลอกุศล แต่ทรงแสดงโดยความเป็นอย่างอื่น

กตเม ธมฺมา กุสลา                กุศลธรรมเป็นไฉน

ยสฺมี สมเย                             ในสมัยใด

กามาวจรํ กุสฺลํ จิตตํ               มหากุศลจิต ๔ ดวง

อุปฺปนฺนํ โหติ โสมนสฺสสหคตํ  เกิดพร้อมด้วยโสมนัสคือความดีใจ  

ญาณสมฺปยุตตํ                       ประกอบด้วยปัญญา

รูปารมฺมนํ วา                          มีรูปเป็นอารมณ์ก็ดี

สททารมฺมณํ วา                     มีเสียงเป็นอารมณ์ก็ดี

คนฺธารมฺมณํ วา                      มีกลิ่นเป็นอารมณ์ก็ดี

รสารมฺมณํ วา                         มีรสเป็นอารมณ์ก็ดี

โผฎฺฐพฺฺพารมฺมณํ วา              มีสัมผัสเป็นอารมณ็ก็ดี

ธมฺมารมฺมณํ  วา ยํ ยํ              มีธรรมคือจิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖           
วา ปนรพฺภตสมี สมเย            นิพพาน บัญญัติ เป็นอารมณ์ก็ดี ในสมัยนั้น

ผสฺโส โหติ                             การกระทบกันระหว่างอายตนะภายในและภายนอกย่อมเกิดขี้น

อวิกฺเขโป โหติ เย วา ปน       ความไม่ฟุ้งซ่านคือสมาธิย่อมเกิดขึ่้น

 เย วา ปน ตสมี สมเย             หรืออีกนัยหนึ่งในสมัยนั้น

อญฺเญปิ อตฺถิ ปฎิจฺจสมุปฺปนนา อรูปธรรม คือจิต เจตสิกอื่นอันใด 
อรูปิโน ธมฺมา                            ซึ่งอาศัยกันและกันเเกิดขึ้่น

อิเม ธมฺมา กุสลา                   สภาวะของกุศลจิตที่เกิดขึ้น  
                                             โดยมีรูปเป็นอารมณ์เป็นต้น เหล่านี้ชื่่อว่า  "กุศลกรรม"
                                                
                                                                        พระสังคณี